วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ใบงานที่ 3 บทความสารคดี

ความสำคัญของจิตวิทยาต่อวิชาชีพครู

ผู้ช่วยศาสตราจารย์เขียน วันทนียตระกูล


      การเป็นครูนั้นไม่เพียงแต่จะต้องมีความรู้ทางวิชาการเพื่อจะสอนนักเรียนเท่านั้น แต่ครูยังจะต้องเป็นผู้ช่วยนักเรียนให้พัฒนาทั้งทางด้านสติปัญญา บุคลิกภาพ อารมณ์  และสังคมด้วยดังนั้น  ครูต้องเป็นผู้ที่ให้ความอบอุ่นแก่นัก เรียน  เพื่อนักเรียนจะได้มีความเชื่อและไว้ใจครู  พร้อมที่จะเข้าพบครูเวลา ที่มีปัญหา  นอกจากนี้ครูจะต้องเป็นต้นฉบับที่ดีแก่นักเรียน


     ถ้าหากจะถาม นักเรียนตั้งแต่ชั้นประถม จนถึงนิสิตนักศึกษาขั้นมหาวิทยาลัย  ว่ามีใครบ้างในชีวิตของนักเรียนที่นัก เรียนยึดถือเป็นต้นฉบับ  นักเรียนส่วนมากจะมีครูอย่างน้อยหนึ่งคนยึดเป็นต้น ฉบับหรือตัวแบบและนักเรียนจะยอมรับค่านิยมและอุดมการณ์ของครู  เพื่อเป็น หลักของชีวิต อิทธิพลของครูที่นักเรียนยึดเป็นต้นฉบับจะติดตามไปตลอดชีวิต



     มีผู้กล่าวว่า  ครูเปรียบเสมือนศิลปินที่ปั้นรูป  เพราะครูทุกคนมีส่วนใน การพัฒนาบุคลิกภาพของนักเรียน  แต่ผลงานของครูไม่เหมือนกับปฏิมากรที่พองาน แต่ละชิ้นสำเร็จก็เห็นผลงาน อาจจะตั้งให้ชมได้  หรือถ้าไม่ชอบอาจจะแก้ไขเพิ่มเติมได้  ส่วนครูนั้นจะ ต้องรอจนนักเรียนกลับมาบอกครูว่าครูได้ช่วยเขาอย่างไร  หรือมีอิทธิพลต่อ ชีวิตเขาอย่างไร


      และบางครั้งการรอก็เป็นการเสียเวลาเปล่าเพราะแม้ว่านัก เรียนบางคนจะคิดถึงความดีของครู แต่ก็คิดอยู่ในใจไม่แสดงออก จึงทำให้คนทั่วไปรู้สึกว่าอาชีพครูเหมือนเรือจ้างที่มีหน้าที่ส่งคนข้ามฟาก เท่านั้น ซึ่งเป็นเครื่องชี้ถึงทัศนคติทางลบที่มีต่ออาชีพครูจึงมีส่วนทำให้คนบางคน ตัดสินใจเลือกอาชีพครูเป็นอาชีพสุดท้าย


     นิสิตและนักศึกษาที่เลือกเรียนวิชาที่จะเป็นครู เมื่อเรียนจบแล้วอาจจะไม่เป็นครู ถ้าหากมีอาชีพอื่นให้เลือก ดังนั้นอาชีพครูจึงประกอบด้วยคน 2 ประเภท  คือ ผู้ที่รักอาชีพครู และต้องการเป็นครูจริงๆ และผู้ที่ต้องเป็นครูด้วยความจำใจ  ครูประเภทนี้บางคนได้พบว่าอาชีพครูเป็น อาชีพที่มีรางวัลทางใจที่ได้ช่วยเหลือนักเรียนให้เรียนรู้หรือเปลี่ยน พฤติกรรม ช่วยให้นักเรียนมีพัฒนาการทั้งด้านสติปัญญาและบุคลิกภาพ  จึงทำให้รู้สึกว่า เลือกอาชีพที่ถูกแล้ว



     แต่ครูบางคนมีความรู้สึกว่าตนเลือกอาชีพผิดและต้องทน อยู่เพราะอยากมีงานทำและอยากมีเงินใช้แต่ไม่มีความสุข ครูประเภทนี้มี อันตรายเปรียบเสมือนฆาตกรฆ่านักเรียนทางด้านจิตใจอย่างเลือดเย็น  ทำให้นัก เรียนมีความรู้สึกต่ำต้อย และคิดว่าชีวิตของตนไม่มีค่า เป็นบุคคลที่ไม่มีประโยชน์  ไม่มีความสามารถและอาจจะต้องออกจากโรงเรียนด้วย การเรียนไม่สำเร็จ  มีชีวิตที่ประสบแต่ความผิดหวัง  ไม่สามารถที่จะมีชีวิต ที่ก้าวหน้าได้ โดยครูเองก็ไม่ทราบ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น